เว็บไซต์เก่า
ด้วยมีประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ที่ ๐๔๒๖/๒๕๖๗ ลงวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๗ ซึ่งเป็น นโยบายเร่งด่วนของผู้ช่วยศาสตราจารย์ไวกูณฑ์ ทองอร่าม อธิการบดี ระยะเวลา ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๗ - ๒๕๖๙) รวมทั้งหมด ๗ นโยบาย ประกอบด้วย
  • นโยบายที่ ๑ “ภูมิปัญญาภาคตะวันออกของมหาวิทยาลัย” ๖ ด้าน ได้แก่

    1. ด้านการผลิตและพัฒนาครู
    2. ด้านอาหาร
    3. ด้านการบริหารและการจัดการระบบขนส่ง
    4. ด้านอัญมณี
    5. ด้านผลไม้เมืองร้อน
    6. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • นโยบายที่ ๒ “คุณภาพบัณฑิตราชภัฏรำไพพรรณี” ๓ ด้าน ได้แก่

    1. มีความรู้ ทักษะ และสมรรถนะศตวรรษที่ ๒๑
    2. มีความรับผิดชอบสูง มีวินัย ขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์อดทน
    3. ฉลาดจัดการ Smart Graduate
      • มีทักษะการเป็นวิศวกรสังคม
      • มีความสามารถทางภาษาอังกฤษตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัย
      • มีความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ICT+AI ตามมาตรฐานมหาวิทยาลัย
      • มีความสามารถทางการเงิน Financial Literacy ตามมาตรฐานมหาวิทยาลัย
  • นโยบายที่ ๓ “ผลิตและพัฒนาครูสู่ความเป็นเลิศ” ๖ ด้าน ได้แก่

    1. บัณฑิตครูมีความสามารถและสมรรถนะในศตวรรษที่ ๒๑ และ ๔ คุณลักษณะตามพระราโชบายมีความเป็นครู
    2. บัณฑิตครูมีความสามารถในอาชีพที่ ๒
    3. บัณฑิตครูทำงานตรงสาขาและมีรายได้เป็นไปตามมาตรฐาน
    4. พัฒนาวิชาชีพครูให้มีความก้าวหน้าในการเลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้น
    5. มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันพัฒนาครูประจำการและโรงเรียน
    6. พัฒนากระบวนการเรียนรู้
  • นโยบายที่ ๔ “ยกระดับคุณภาพการศึกษา” ๘ ด้าน ได้แก่

    1. พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและประเทศ
    2. พัฒนากระบวนการเรียนรู้และจัดสภาวะแวดล้อมที่เอื้อและส่งเสริมการเรียนรู้
    3. ยกระดับคณาจารย์ให้มีความเชี่ยวชาญเป็นมืออาชีพ จัดการเรียนรู้สมัยใหม่
    4. ส่งเสริมคณาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งวิชาการที่สูงขึ้น
    5. พัฒนาความเป็นเลิศโรงเรียนสาธิตรำไพพรรณี
    6. ส่งเสริมกิจกรรม / เสริมหลักสูตรการออกฝึกปฏิบัติ การออกภาคสนาม
    7. สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่
    8. สร้างงานวิจัยและวิชาการ ให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับท้องถิ่นและประเทศ
  • นโยบายที่ ๕ “พัฒนาท้องถิ่นเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ๕ ด้าน ได้แก่

    1. มหาวิทยาลัยเป็นผู้ชี้นำสังคมภาคตะวันออก อาทิเช่น การผลิตและพัฒนาครู, อาหาร, ระบบขนส่ง, อัญมณี, ผลไม้เมืองร้อน, IT, ช้าง, ปะการัง, การรับผลิต OEM เป็นต้น
    2. ส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการทางด้านรับใช้ท้องถิ่นและสังคม
    3. นำวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และ AI ลงสู่ท้องถิ่น เพื่อยกระดับเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
    4. พัฒนาหลักสูตรระยะสั้นที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน เพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้กับ ประชาชนท้องถิ่น
    5. พัฒนาท้องถิ่นโดยใช้รูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่ และครอบคลุมพื้นที่บริการ
  • นโยบายที่ ๖ “การบริหารจัดการสู่องค์กรสมรรถนะสูง” ๖ ด้าน ได้แก่

    1. มุ่งเน้นการดำเนินงานที่มีความคุ้มทุนในทุกพันธกิจ
    2. พัฒนาเครื่องมือการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ
    3. ส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน
    4. ยกระดับมาตรฐานและภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยสู่มาตรฐานระดับชาติและระดับสากล
    5. สร้างมาตรการลดรายจ่าย
    6. ก้าวสู่การเป็น Smart Local University
  • นโยบายที่ ๗ “เพิ่มรายได้” ๔ ด้าน ได้แก่

    1. รายได้จากค่าธรรมเนียมการศึกษา
    2. รายได้จากการผลิต
    3. รายได้จากการบริการ
    4. รายได้จากเงินบริจาค