2515
2516
วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2516 วิทยาลัยครูจันทบุรีได้รับพระราชทานตราศักดิเดชน์ ซึ่งเป็นตราประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นตราของวิทยาลัยและใช้ สีชมพู-เขียว เป็นสีของวิทยาลัย สีชมพู แสดงถึงความเมตตากรุณา สุภาพ อ่อนโยนและเป็นสีประจำวันอังคาร ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีและ สีเขียว แสดงถึงความเจริญงอกงามซึ่งเป็นสีประจำวันพุธ ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
2518 - 2528
ปี พ.ศ. 2518 ได้เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษาตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2528 จึงเปิดสอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และสาขาศิลปะศาสตร์เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูฉบับแก้ไข พ.ศ. 2527
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 วิทยาลัยครูจันทบุรีได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ เป็นนามของวิทยาลัยว่า “วิทยาลัยรำไพพรรณี”
2529
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 สถาบันได้เปิดสอนนักศึกษาภาคพิเศษตามโครงการการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลากรประจำการ (กศ.บป.) ที่ศูนย์สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี และต่อมาปี พ.ศ. 2537 จึงขยายศูนย์ให้การศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) นอกสถาบันที่ศูนย์จังหวัดระยอง โดยความร่วมมือจากวิทยาลัยเทคนิคระยองและโรงเรียนระยองวิทยาคม และต่อมาปี พ.ศ. 2540 มีผู้สมัครเข้าเรียนที่ศูนย์ระยองเพิ่มขึ้นจึงย้ายศูนย์ให้การศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคระยองมาเปิดศูนย์แห่งใหม่ที่โรงเรียนเทคโนโลยี ทีพีไอ จังหวัดระยอง
2536-2538
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานชื่อใหม่ไห้แก่วิทยาลัยครูทั่วประเทศตามที่กรมการฝึกหัดครูได้ขอพระราชทานคือ สถาบันราชภัฏ ต่อมากรมการฝึกหัดครูได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฏรแล้วและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 จึงมีผลทำให้วิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีมีฐานะเป็น สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี
2542-2544
ปี พ.ศ. 2542 สถาบันราชภัฏรำไพพรรณีเปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษาครั้งแรกในภาคพิเศษ สาขาการบริหารการศึกษาใน พ.ศ. 2543 เปิดสอนสาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา และ พ.ศ. 2544 เปิดสอนสาขาหลักสูตรการสอน
ปี พ.ศ. 2544 สถาบันได้ปรับเปลี่ยนโครงการจัดการศึกษาภาคพิเศษทั้งหมดเป็น โครงการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.ปช.) ตามประกาศของคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏ ดังนั้นภายใต้โครงการ กศ.ปช. จึงประกอบด้วยสามโครงการย่อยคือ โครงการ กศ.บป. โครงการ กศ.อช. และโครงการบัณฑิตศึกษา
2547
วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทำให้สถาบันราชภัฏรำไพพรรณีเปลี่ยนสถานะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ทำหน้าที่ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดินฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูพลังของแผ่นดิน ประกอบด้วยหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
- คณะครุศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
- คณะเทคโนโลยีการเกษตร
- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมบัณฑิต
- คณะวิทยาการจัดการ
- สำนักงานอธิการบดี
2548 - 2553
นับตั้งแต่ได้เปลี่ยนสภาพเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เมื่อปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ระดับคณะ ดังนี้
- คณะนิติศาสตร์ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2550
- บัณฑิตวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2552
- คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2552
- คณะนิเทศศาสตร์ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2552
- สำนักบริการวิชาการ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2552
- คณะอัญมณีศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2553
- คณะพยาบาลศาสตร์ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2553