ทอล์คเรื่องเทค : 19 แนวโน้มของสถาบันอุดมศึกษาในปี 2024: จับตามองอนาคตการศึกษา
EdTech Talks: 19 Higher
Education Trends for 2024: Latest Forecasts To Watch Out
For
บทความนี้
เราขอกล่าวถึงแนวโน้มของสถาบันอุดมศึกษาในปี 2024 โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของใบปริญญา
เพราะก็ยังเป็นใบเบิกทางสู่ความสำเร็จในสายอาชีพ เงินเดือนที่สูงขึ้น โอกาสก้าวหน้า
และสวัสดิการที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ในสภาวะตลาดงานที่แข่งขันสูงหลังวิกฤตโควิด
ปริญญายังช่วยให้บัณฑิตจบใหม่สามารถเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพอิสระ
สร้างโอกาสของตัวเองได้
เนื่องจากการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยส่งผลต่อโอกาสในการมีงานทำอย่างมาก
บทความนี้จึงชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันมีนักศึกษายอมรับในความจำเป็นที่จะต้องจบปริญญาตรี
ส่งผลให้จำนวนนักศึกษาที่มีความต้องการศึกษาต่อเพิ่มขึ้น
แต่ผู้เชี่ยวชาญกลับมองว่าคุณภาพการศึกษาที่นักศึกษาได้รับจากสถาบันการศึกษากำลังลดลง
อย่างไรก็ตาม
สถาบันการศึกษายังคงตระหนักถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น
ค่าเล่าเรียนที่สูงขึ้น พฤติกรรมของนักศึกษาที่เปลี่ยนไป ประสิทธิผลของวิธีการสอน
และผลกระทบจากสถานการณ์โควิด บทความนี้จึงขอรวบรวมแนวโน้มการศึกษาสมัยใหม่ที่น่าจับตามองไว้ด้วย
1. ภาระค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา
ค่าใช้จ่ายเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ
ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนหลายคน
ด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้นและงบประมาณจากภาครัฐที่ไม่เพียงพอ
ทำให้ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบัน
สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งเรียกเก็บค่าเล่าเรียนมากกว่าสองเท่าของปี 2008 (ข้อมูลจาก รัฐอลาบามาและแอริโซนา สหรัฐอเมริกา
ค่าเล่าเรียนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยของรัฐบาล เพิ่มขึ้นมากกว่า 60%)
นอกจากนี้
นักศึกษาต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ เช่น หอพัก อาหาร หนังสือ
และค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมอื่นๆ ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ สำหรับนักศึกษาที่เรียนออนไลน์
พวกเขาจะต้องเตรียมงบประมาณสำหรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานที่บ้านด้วย
ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของการศึกษาระดับอุดมศึกษา บีบบังให้s]kpคนต้องลาออกจากการเรียนหรือไม่สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีเลย
2. ส่วนลดค่าเล่าเรียนจากสถาบันเอกชน
สมาคมเจ้าหน้าที่ธุรกิจวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยแห่งชาติ
(National
Association of College and University Business Officers: NACUBO) เปิดเผยว่า
ในปีการศึกษา 2017-2018 นักศึกษามหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเอกชนได้รับทุนการศึกษาแบบลดหย่อนค่าเล่าเรียนสูงเกินกว่า
50% (Inside Higher Ed, 2019) และในปีการศึกษาถัดมา
เพิ่มขึ้นเป็น 52%
สถาบันเอกชนใช้กลยุทธ์นี้เพื่อดึงดูดนักเรียนให้มาศึกษาต่อ นอกจากนี้
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 บางวิทยาลัยเอกชนยังตัดสินใจคงค่าเล่าเรียนและยิ่งไปกว่านั้น
คือลดค่าเล่าเรียนลงสำหรับปีการศึกษา 2021-2022 เพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่ประสบปัญหา
(CNBC, 2020)
สถาบันเอกชนมักเสนอส่วนลดค่าเล่าเรียนแทนที่จะลดค่าเล่าเรียนโดยรวม
นอกจากนี้ นักจิตวิทยาพบว่า 40% ของนักเรียนและครอบครัวจะเลือกสถาบันที่มีส่วนลดค่าเล่าเรียน
มากกว่าวิทยาลัยอีกแห่งที่มีค่าเล่าเรียนโดยรวมต่ำกว่า เหตุผลนี้อาจเป็นเพราะราคาที่สูงกว่าถูกตีความว่าเป็นสัญญาณของการมีคุณภาพ
หลายคนคิดว่า ราคายิ่งแพง คุณภาพการศึกษายิ่งดี
3. โครงสร้างประชากรนักศึกษาเปลี่ยนแปลง
ปัจจุบัน
นักเรียนมัธยมปลายจำนวนมากขึ้นสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
โดยไม่ติดภาระด้านการทำงานประจำหรือภาระครอบครัว ส่งผลให้โครงสร้างของนักศึกษาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
กลุ่มนักศึกษาวัยรุ่นอายุ 18
ถึง 22 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาแบบดั้งเดิม
มีจำนวนคงที่หรือลดลง ส่งผลให้ความต้องการและพฤติกรรมของนักศึกษาก็เปลี่ยนไปด้วย
จากข้อมูลสถิติของ Gen Z จะเห็นว่า
กลุ่มคนรุ่นนี้กำลังเข้ามาแทนที่ Millennials ในรั้วมหาวิทยาลัย
นักศึกษายุค Gen Z มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและชนกลุ่มน้อยมากขึ้น
ทำให้ประชากรนักศึกษามีความหลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ นักศึกษายุค Gen Z ยังมุ่งเน้นการศึกษาต่อมากขึ้น โดยประมาณ 59% ของนักเรียนมัธยมปลายอายุ
18 ถึง 20 ปี อยู่ในระบบการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
และส่วนใหญ่เห็นว่าปริญญาตรีมีความสำคัญ
ด้วยการเติบโตของการเรียนออนไลน์ในปี 2021 ข้อมูลชี้ให้เห็นว่านักศึกษาออนไลน์มีทั้งกลุ่มอายุน้อยกว่าและมากกว่านักศึกษาแบบดั้งเดิม
จากการสำรวจ พบว่า 47% ของผู้บริหารโรงเรียน ระบุว่า
อายุเป็นแนวโน้มที่สำคัญที่สุดที่พวกเขาสังเกตเห็นในโครงสร้างประชากรนักเรียนออนไลน์
25% ของผู้บริหารโรงเรียน ระบุว่า
พวกเขาเห็นนักเรียนนอกระบบการศึกษาที่เป็นผู้ใหญ่จำนวนมากขึ้น ขณะที่ 20% พบว่ามีนักเรียนอายุน้อยลงเพิ่มมากขึ้น (BestColleges, 2020)
ดังนั้น ผู้นำด้านการศึกษาจึงต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ในโครงสร้างประชากร
และพยายามปรับระบบการศึกษาที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับความต้องการของคนรุ่นใหม่
4. รองรับนักศึกษานอกระบบ
นักศึกษานอกระบบคิดเป็นเกือบ 75% ของนักศึกษาเกือบ 20 ล้านคนที่กำลังศึกษาอยู่ในระบบการศึกษาระดับหลังมัธยมศึกษา
(NCES, 2020) ที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่านั้นคือ
นักศึกษามหาวิทยาลัยเต็มเวลา 7 ใน 10 คน
ต้องทำงานพิเศษไปด้วยเพื่อหาเลี้ยงชีพ (มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์, 2018) สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้สถาบันการศึกษามุ่งเน้นการใช้รูปแบบการนำเสนอบทเรียนที่หลากหลายมากขึ้น
เนื่องจากมีผู้สมัครนักศึกษาดั้งเดิมลดลง
สถาบันอุดมศึกษาจึงต้องปรับตัวเพื่อดึงดูดนักศึกษานอกระบบมากขึ้น
สถาบันการศึกษาเหล่านี้กำลังมุ่งไปที่การสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น
เพื่อรองรับความต้องการทางการศึกษาของนักศึกษานอกระบบ
ซึ่งรวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ
5. การศึกษาออนไลน์
การศึกษาออนไลน์เป็นหนึ่งในเทรนด์เทคโนโลยีทางการศึกษาที่เติบโตเร็วที่สุด
และด้วยอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
การศึกษาออนไลน์ยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของจำนวนผู้ลงทะเบียนเรียนในระดับหลังมัธยมศึกษา
ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เผยว่า
นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อการศึกษาออนไลน์มากขึ้น การศึกษาออนไลน์มอบประโยชน์ต่างๆ
ที่ไม่สามารถหาได้ในห้องเรียนแบบดั้งเดิม ตัวอย่างเช่น
ช่วยให้นักศึกษามีทางเลือกที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้พวกเขาสามารถเรียนวิชาต่าง ๆ
ไปพร้อมกับการบริหารจัดการภาระหน้าที่อื่น ๆ ได้
การเปลี่ยนไปเรียนแบบออนไลน์ยังจะทำให้สถาบันการเรียนควรต้องปรับเว็บไซต์ให้ใช้งานบนมือถือได้สะดวกยิ่งขึ้น
และมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีโดยรวม
เนื่องจากนักศึกษาไม่ได้ถูกจำกัดให้อยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ใดเป็นการเฉพาะ
สถาบันการศึกษาจึงต้องปรับรูปแบบการเรียนให้ค้นหาได้ง่าย
เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน (Annertech, 2020)
เทคโนโลยี VR คาดว่าจะมอบประสบการณ์ดิจิทัลที่ดื่มด่ำ
เพื่อเป็นการแก้ปัญหาข้อจำกัดด้านการเว้นระยะทางทางสังคม เช่น
การจัดทัวร์ชมมหาวิทยาลัย การจัดงานวันเปิดบ้าน และพิธีรับปริญญา (Annertech,
2020)
6. การรับสมัครนักศึกษานานาชาติ
เพื่อแก้ไขปัญหานักศึกษาลดลง
สถาบันอุดมศึกษาจึงรับสมัครนักศึกษานานาชาติอย่างจริงจังมากขึ้น
การใช้ประโยชน์จากกิจกรรมนักศึกษานานาชาติสามารถช่วยสร้างรายได้ใหม่ ๆ
การรับสมัครนักศึกษานานาชาติมากขึ้นและส่งเสริมความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ
ยังช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในสายตาชาวโลก
นอกจากนี้ การรับสมัครนักศึกษานานาชาติ นำไปสู่กลุ่มนักศึกษาที่มีความหลากหลาย
ช่วยให้เกิดบริบททางวัฒนธรรมใหม่ ๆ ซึ่งเมื่อบูรณาการเข้ากับหลักสูตรปัจจุบัน
จะช่วยเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาสามารถแข่งขันในเศรษฐกิจโลกได้ดียิ่งขึ้น
7. ผู้ให้บริการจัดการโปรแกรมการเรียนรู้แบบออนไลน์
(OPMs)
การเติบโตของซอฟต์แวร์อีเลิร์นนิง
ปูทางสู่เส้นทางใหม่สำหรับองค์กรผู้ให้บริการจัดการโปรแกรมการเรียนรู้แบบออนไลน์ (Online Program
Management Organizations: OPMs)
มหาวิทยาลัยต่างๆ ร่วมมือกับบริษัทพันธมิตร
พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้แบบออนไลน์ ในขณะที่ OPMs เป็นผู้จัดหาแพลตฟอร์มสำหรับให้นักศึกษาเข้าเรียนหลักสูตรเหล่านั้น
มหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกา
เปิดสอนปริญญาออนไลน์ผ่านผู้ให้บริการ OPMs ระบุว่า OPMs
มักจะหักส่วนแบ่งค่าเล่าเรียน 60% หรือมากกว่า
และคาดการณ์ว่ามูลค่าทางตลาดของ OPMs และบริการที่เกี่ยวข้องจะเติบโตขึ้นเรื่อย
ๆ
8. ความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและสถาบันการศึกษา
สถาบันการศึกษากำลังร่วมมือกับภาคธุรกิจเพื่อให้แน่ใจว่านักศึกษาจะมีทักษะที่เป็นที่ต้องการสอดคล้องกับงานในอนาคต
บริษัทเป็นพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยและใช้เครือข่ายอันกว้างขวางของตนเองเพื่อช่วยให้ตน
ปิดช่องว่างด้านทักษะด้านเทคโนโลยีในกำลังคนที่องค์กรของตนกำลังขาดอยู่
9. เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ภาระหนี้สินจากเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ยังคงเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษามีราคาแพงขึ้น
ภาระหนี้สินจากเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาก็พุ่งสูงขึ้น
10. การระดมทุนเพิ่มขึ้น
การลดลงของเงินทุนจากภาครัฐ
ทำให้ภาคการศึกษาระดับอุดมศึกษาต้องพยายามระดมทุนมากขึ้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ภาคการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้ความสำคัญกับการรณรงค์เพื่อเพิ่มทุนมากขึ้น
เมื่อเงินทุนจากภาครัฐลดลง
ผู้นำทางการศึกษาและผู้กำหนดนโยบายจึงมุ่งเน้นไปที่การหาเงินบริจาคจากภาคเอกชน
11. ระบบการจัดการการเรียนรู้
(LMS)
ระบบการจัดการการเรียนรู้สำหรับโรงเรียน (Learning
Management Systems: LMS) สร้างระบบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในภาคการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ตอนนี้ นักการศึกษาและผู้บริหารใช้ LMS เพื่อพัฒนาและเผยแพร่เนื้อหาของหลักสูตรได้ดียิ่งขึ้น
แอปพลิเคชันเหล่านี้ยังมีประโยชน์ในการติดตามความก้าวหน้าของนักศึกษา
แม้ว่าโซลูชัน LMS ส่วนใหญ่จะรองรับเฉพาะองค์กร
แต่ปัจจุบันมีแพลตฟอร์ม LMS ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาแล้ว
12. การศึกษาแบบเน้นสมรรถนะ
(Competency-Based
Education: CBE)
แนวโน้มใหม่ของการใช้หลักสูตร CBE ในภาคการศึกษาระดับอุดมศึกษานำเสนอคุณค่าใหม่ให้กับสถาบันต่าง ๆ มากมาย
โดยการใช้แผนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นไปที่สมรรถนะโดยเฉพาะ
นักศึกษาจำเป็นต้องเรียนจบทุกวิชาหรือโปรแกรมเพื่อเลื่อนชั้นจากหน่วยการเรียนหนึ่งไปยังอีกหน่วยการเรียนหนึ่ง
ช่วยให้ผู้เรียนนอกระบบการศึกษาสามารถเข้าถึงโปรแกรมการเรียนได้ง่ายขึ้น
และได้รับประโยชน์ที่หลากหลาย
13. โปรแกรม MicroMasters
โปรแกรม MicroMasters คือ
หลักสูตรระดับปริญญาโท ที่นำเสนอผ่านทางช่องทางออนไลน์เท่านั้น
โดยหลักสูตรเหล่านี้เทียบเท่ากับโปรแกรมปริญญาโท
เน้นการเรียนรู้เฉพาะทางในหัวข้อวิชาชีพต่าง ๆ
14. เงินเดือนของอาจารย์มหาวิทยาลัย
เงินเดือนเฉลี่ยของอาจารย์มหาวิทยาลัยนั้น
มีรายได้ค่อนข้างสูงแต่กว่าจะได้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยนั้น
ต้องใช้เวลานานอย่างน้อยแปดปีในการศึกษาต่อหลังปริญญาเอกและประสบการณ์การทำงาน
ดังนั้น อาจารย์ที่เคยมีประสบการณ์การทำงานนอกสายวิชาการหลายปี มีโอกาสที่จะเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยมากกว่า
15. สาขาวิชาที่นิยมมากที่สุด
- น้อยที่สุด
ปริญญาของมหาวิทยาลัยนำไปสู่โอกาสมากมายในด้านอาชีพ
ดังนั้น สำหรับนักศึกษาหลายคน ที่เลือกหลักสูตรในมหาวิทยาลัยต้องใช้การเตรียมตัวและพิจารณาอย่างรอบคอบ
กระทรวงศึกษาธิการสหรัฐอเมริการะบุว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเลือกหลักสูตรในมหาวิทยาลัยของนักศึกษานั้น
คือคุณภาพทางวิชาการ สาขาวิชาต้องการ และตลาดแรงงาน
16. การศึกษาระดับอุดมศึกษาตามประเทศ
ทักษะการสอน หลักการ และกฎระเบียบของการศึกษา
ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของการศึกษาระดับอุดมศึกษาของแต่ละประเทศ นอกจากนี้
ทักษะการประเมินผลและสื่อการสอนที่เหมาะสม
ยังส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของประเทศอีกด้วย
แต่ละประเทศต่างลงทุนในระบบการศึกษาของตนเอง
โดยหวังว่าบัณฑิตจบใหม่จำนวนมากจะผลักดันให้เศรษฐกิจของตนเองก้าวไปสู่ความรุ่งเรือง
โดยพิจารณาจาก ความแข็งแกร่งของระบบ การเข้าถึง สถาบันชั้นนำ และบริบททางเศรษฐกิจ
17. การบริหารภายในมหาวิทยาลัย
ภาคการศึกษาระดับอุดมศึกษา ของสหรัฐอมเริกา พบว่า
ระยะเวลาดำรงตำแหน่งเฉลี่ยของผู้บริหารระดับสูงลดลง จากเดิม 7 ปี เหลือเพียง 5 ปีหรือน้อยกว่านั้น
สาเหตุนี้เกิดจากความต้องการและแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นที่ผู้บริหารระดับสูงต้องรับมือ
ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนจากภาครัฐ จำนวนนักศึกษาลดลง
และโครงสร้างประชากรนักศึกษาที่เปลี่ยนไป
18. การปิดมหาวิทยาลัยและการควบรวมกิจการ
จำนวนสถาบันอุดมศึกษาที่ปิดตัวลงยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม้จะมีการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษา
แต่ก็ยังมีปัจจัยหลายประการที่คุกคามสุขภาพทางการเงินของสถาบัน มีการระบุว่า มหาวิทยาลัยขนาดเล็กมีความเสี่ยต่อความท้าทายเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญมากกว่าสถาบันที่มีนักศึกษามากกว่า
1,000
คน จำนวนนักศึกษาลดลง กฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น งบประมาณที่ตึงตัว
และการขาดเงินทุนจากภาครัฐ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการปิดตัวลงทั่วโลก
19. บิล เกตส์ กับอุดมศึกษา
บิล
เกตส์ เริ่มให้ความสำคัญกับการศึกษาตั้งแต่ปี 2000 เขาและภรรยาเชื่อว่า
พวกเขาสามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างความสำเร็จในระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาผิวสี
นักศึกษาฐานะยากจน และนักศึกษาคนอื่น ๆ นำไปสู่การก่อตั้ง มูลนิธิ Bill
& Melinda Gates
มูลนิธิเกตส์ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อประเมินคุณค่าของปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตร
โดย คณะกรรมการคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา (The Postsecondary Value Commission) มีเป้าหมายที่จะจัดหาเครื่องมือวัดผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของปริญญาบางประเภท
นอกจากนี้ คณะกรรมการจะพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ
ที่ส่งผลต่อการศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วย ซึ่งรวมถึง
ปัจจัยทางเศรษฐกิจและรายได้หลังเรียนจบ รวมถึงความแตกต่างของรายได้ตามประเภทของปริญญา
หนี้สินนักศึกษา และการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ
ที่มา : Nestor Gilbert
- financesonline.com
เรียบเรียงและแปลโดย : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี