เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2564 ณ ตำบลขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ผศ.วารินทร์ สุภาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน นำทีม ลงพื้นที่จัดเวทีแลกเปลี่ยนระดมความคิดขลุง ปรับโฉมใหม่ เมื่อไร้นักท่องเที่ยว ภายใต้หัวข้อ "ปรับโฉมใหม่ ปรับตัวอย่างไร หลังจากเจอวิกฤตจากโควิด-19"
หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จันทบุรี ภายใต้การบริหารงานของสำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน จัดเวทีระดมความคิดแลกเปลี่ยนระดมความคิด ภายใต้หัวข้อ ขลุง ปรับโฉมใหม่ เมื่อไร้นักท่องเที่ยว ภายใต้หัวข้อ "ปรับโฉมใหม่ ปรับตัวอย่างไร หลังจากเจอวิกฤตจากโควิด-19"วัตถุประสงค์เพื่อรวมทุกกลุ่มเข้ามาเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยววิถีใหม่ จัดการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน โดยใช้ต้นทุนด้านทรัพยากร มาต่อยอด ระดมคนที่ยังรักธรรมชาติ รักวิถีวัฒนธรรม รักบ้านเกิดของตัวเองเกิดเป็นกลุ่มย่อยๆ ที่เป็น การท่องเที่ยวชุมชนย่านเมืองขลุง มีอาหารท้องถิ่น มีพื้นที่เกษตรและทำการประมงขนาดเล็กอาหารทะเล พื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน แม่น้ำเวฬุ มีการเชื่อมโยงกับ ผู้ประกอบการ แกนนำชุมชนทั้งภาครัฐภาคเอกชน ทำให้ชุมชนมีรายได้เป็นระบบที่เกื้อหนุนกัน ทุกคนร่วมกันทำ มีการเชื่อมโยงเครือข่าย พัฒนาและเห็นคุณค่าของชุมชนย่านเมืองขลุงเพื่อได้เห็นคุณค่าความสำคัญและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมของท้องถิ่น พร้อมทั้งเกิดเครือข่ายบุคลากรการดำเนินงานการอนุรักษ์คุ้มครองสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม และเกิดการประสานความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน โดยผ่านกิจกรรมแผนงานที่ 3 การเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม กิจกรรม 3) การสนับสนุนพื้นที่แหล่งเรียนรู้ย่านเมืองขลุงเป็นมีแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น อันจะนำไปสู่แนวทางในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมของท้องถิ่นพร้อมผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญด้านสถาปัตยกรรมย่านชุมชนเก่าเมืองขลุงเพื่อก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนในอนาคต การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ สำนักสิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
สรุปประเด็นเนื้อหา การมีส่วนร่วมการท่องเที่ยวชุมชนย่านเมืองขลุง
1.ใช้ต้นทุนเดิมด้านทรัพยากรมาต่อยอดทรัพยากรป่าชายเลน/แม่น้ำเวฬุ/สถาปัตยกรรม/แหล่งโบราณสถาน/
2. วิถีวัฒนธรรมชุมชน เกษตรกร/สวนผลไม้/การประมงขนาดเล็ก /อาหารทะเล/ค้าขายตลอดจนประเพณี/วัฒนธรรม/ภูมิปัญญาชุมชนคนขลุง
3. อาหารท้องถิ่น เน้นความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ดินแดน 2 ศาสนา 3 วัฒนธรรม ไทย จีน ญวน
4. สิ่งปลูกสร้างใหม่/สถานที่ท่องเที่ยว/ร้านอาหารและเครื่องดื่ม/ที่พักโรงแรม/กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น กิจกรมพายเรือซัฟ ท่องเที่ยวทางทะเล
ขลุง #รวมทุกกลุ่มเข้ามาเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยววิถีใหม่ จัดการท่องเที่ยวให้ยั่งยื่นเพื่อนำไปสู่แนวทางการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าเมืองขลุง
สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน มีบทบาทในการส่งเสริม สนับสนุน ต้นทุุนทางด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อก่อให้เกิดรายได้ จนนำไปสู่คุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
ประกาศเมื่อวันที่ : 7 กรกฎาคม 2564
แหล่งข่าวจากหน่วยงาน : -