เว็บไซต์เก่า
6 มี.ค.64 ณ ชุมชนตะกาดเง้า จ.จันทบุรี ในแต่ละปีได้มีการเพิ่มปริมาณพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลชายฝั่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละปี ทำให้มีผลผลิตจากการเลี้ยงหอยเพิ่มขึ้นด้วย โดยภายหลังการแปรรูปและการบริโภคหอยชนิดต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เกิดขยะเหลือทิ้่งคือเปลือกของหอยชนิดต่าง ๆตามมาเป็นปริมาณมากและเปลือกหอยชนิดต่าง เหล่านี้มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งถ้านำเปลือกหอยชนิดต่ง ๆ เหล่านี้ไปกำจัดทิ้งจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการกำจัดและเป็นที่น่าเสียดาย ซึ่งการประกอบอาชีพประมงของคนในชุมชนตะกาดเง้า จ.จันทบุรี เปลือกหอยที่ชาวบ้านมองว่าไม่รู้จะนำไปทำประโยชน์อย่างไร การจัดการขยะเปลือกหอยพบว่ามีการจัดการโดยผู้รับจ้างและผู้ประกอบการโดยจะนำไปถมที่เพียงอย่างเดียวซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบจากกลิ่นเหม็นแหล่งน้ำและทัศนียภาพของชุมชนตะกาดเง้า เปลือกหอยที่ไม่มีคุณค่านั้นเราสามารถนำมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้มากกว่าที่จะนำไปถมที่เพียงอย่างเดียว เพราะเปลือกหอยนั้นย่อยสลายยากแต่ถ้านำเปลือกหอยไปเผาและบดละเอียดแล้วเราสามารถนำมาเป็นปูนขาวและปุ๋ยอินทรีย์ที่นำมาบำรุงพืชพันธ์ุทางการเกษตรได้ โดยได้รับเกียรติจาก นายไสว เฉลิมชัย ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 ผู้มีความรู้ช่วยในการทำปุ๋ยอินทรีย์จากเปลือกหอยให้ประสบความสำเร็จ
ประกาศเมื่อวันที่ : 9 มีนาคม 2564
แหล่งข่าวจากหน่วยงาน : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์